หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

กลุ่มที่ ๑ เรื่อง หัวใจชายหนุ่ม

ประวัติผู้แต่ง
             พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครอง การต่างประเทศ และโดยเฉพาะด้านทั้งษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภท เช่น บทละคร บทความ นิยาย เรื่องสั้น และทรงใช้พระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ  บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีหรือเป็นหนังสือที่แต่งดี อาทิ หัวใจนักรบ เป็นยอดของบทละครร้อยแก้ว มัทนะพาธา เป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์    ทรงได้รับถวายพระราชสมัญญาว่า
“สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” ซึ่งมีความหมายว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ และยังทรงได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (
UNESCO) ให้ทรงเป็น ๑ ใน ๕ ของนักปราชญ์ไทย

ที่มาของเรื่อง

        หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า  “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ดุสิตสมิต” 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างตัวละครเอกขึ้นโดยสมมติให้มีตัวตนจริง คือ
 “ประพันธ์ ประยูรสิริ” เป็นผู้ถ่ายทอดความนึกคิดและสภาพของสังคมไทยผ่านมุมมองของ “ชายหนุ่ม(นักเรียนนอก)ในรูปแบบของจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนชื่อ “ประเสริฐ สุวัฒน์” เป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นแนวคิดสำคัญในพระราชดำริของพระองค์ในการค่อยๆปรับเปลี่ยนรับเอาอารยธรรมตะวันตกเข้ามา ให้ผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมของไทยโดยทรงสื่อพระราชดำรินั้นผ่านตัวละครในเรื่องได้อย่างแยบยล

 จุดมุ่งหมาย     

๑.เพื่อให้รู้ถึงวิถีชีวิตของชายหนุ่มไทย
๒.แสดงให้เห็นวิธีการเขียนจดหมายที่ถูกต้อง
๓.สื่อถึงพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
๔.เข้าใจในความรักของหนุ่มสาวในอดีต
๕.รับรู้การแต่งบทประพันธ์ที่ถูกต้องตามหลักการ
๖.สื่อถึงการแต่งงานแบบคลุมถุงชนในอดีต

ลักษณะการแต่ง

         หัวใจชายหนุ่ม เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมาย โดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมายทั้ง ๑๘ ฉบับในเรื่อง ดังนี้                                                                                  
.คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ “ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก” .คำลงท้าย จะใช้คำว่า “จากเพื่อน...” “แต่เพื่อน...” แล้วตามด้วยความรู้สึกของนายประพันธ์ เช่น “แต่เพื่อนผู้ใจคอ ออกจะยุ่งเหยิง” (ฉบับที่๑๐) มีเพียง ๙ ฉบับเท่านั้น ที่ไม่มีคำลงท้าย         
.การลงชื่อ ตั้งแต่ฉบับที่ ๑๔ เป็นต้นไป ใช้บรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน คือ
“บริบาลบรมศักดิ์” โดยตลอด แต่ฉบับที่ ๑ – ๑๓ ใช้ชื่อ “ประพันธ์” 
.ความสั้นยาวของจดหมาย มีเพียงฉบับที่ ๑๔ เท่านั้นที่มีขนาดสั้นที่สุด เพราะเป็นเพียงจดหมายที่แจ้งไปยังเพื่อนว่าตนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์

 เรื่องย่อ
นายประพันธ์เป็นนักเรียนนอก เรียนจบจากประเทศอังกฤษ มีความนิยมวัฒนธรรมตะวันตกชื่นชมผู้หญิงสมัยใหม่จนได้แต่งงานกับผู้หญิงทันสมัย ที่ขาดคุณสมบัติของภรรยาที่ดี ชีวิตประสบอุปสรรคแต่ในที่สุดปัญหาต่างๆก็คลี่คลายไป

ข้อคิดที่รับจากเรื่อง “ หัวใจชายหนุ่ม
๑. อย่าลืมนำความผิดพลาดนั้นมาใช้ในการแก้ไขตนเอง และปรับทัศนคติที่ผิดอยู่ให้ดีขึ้น
๒. อย่าหลงวัฒนธรรมตะวันตกจนลืมจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย ควรเก็บสิ่งที่ดีมาปฏิบัติ
. การใช้เสรีภาพในทางที่ผิดโดยปล่อยเนื้อปล่อยตัวจนกระทั่งพลาดพลั้งชิงสุกก่อนห่ามจะต้องประสบชะตากรรมอันเลวร้าย
๔. คนเราควรดำเนินชีวิตในทางยุติธรรม
๕.การใช้ความสามารถของตัวเอง ความพยายามในการก้าวหน้าจะช่วยให้ประสบความสำเร็จในชีวิต

คำศัพท์

คำศัพท์
คำแปล
ครึ
เก่า ล้าสมัย
คลุมถุงชน
ลักษณะการแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดการให้โดยที่เจ้าตัวไม่รู้จักคุ้นเคยหรือรักกันมาก่อน
เทวดาถอดรูป
มีรูปร่างหน้าตาดีราวกับเทวดา
ไพร่ๆ
คนสามัญ ชาวบ้าน
สิ้นพูด
หมดคำพูดที่กล่าว เพราะพูดไปก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด
หมอบราบคาบแก้ว
ยอมตามโดยไม่ขัดขืน
หัวนอก
คนที่นิยมแบบฝรั่ง มีความคิดอ่านแบบฝรั่ง
หัวเมือง
ต่างจังหวัด









   ความรู้เพิ่มเติม
๑. การศึกษา เมือก่อนเรียนที่วัด ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นมาเรียนที่โรงเรียน
๒. ความอิสรเสรี คือ ผู้หญิงจะเริม เข้าสังคมมากขึ้น เช่น การไปงานปาร์ตี้กับเพื่อน
๓. การแต่งกาย  ผู้ชายใสสูท ผู้หญิง นุ่งผ้าซิ่น เริมนุงกระโปรงแทนการนุ่งจูงกระเบน เริมแต่หน้า สวมเครื่องประดับ
                                                                                    
 ๔.การแต่งงาน  จะดูที่ความเหมาะสมทั้งด้านการงาน ฐานะ การศึกษา ความรักเดียวใจเดียว ซึงทั้งหมดนี้เป็นการเปลี่ยนไปของวัฒนะธรรมไทยที่เปลี่ยนไปตามวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามา ซึ่งถือว่าเป็นเรืองใหญ่มาก และเริมจากสังคมชั้นสูง

 วิเคราะห์วิจารณ์
          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสนอแนวคิดผ่านตัวละครเอก คือประพันธ์ที่แสดงความรังเกียจ ดูถูกบ้านเกิด แต่กลับไปชื่นชมนิยมวัฒนธรรมตะวันตก พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า  คนไทยควรภูมิใจในวัฒนธรรมไทยไม่ควรหลงนิยมวัฒนธรรมตะวันตกจนเกินไป จนละเลยความเป็นไทย ควรรู้จักเลือกสรรสิ่งที่เหมาะสมมาใช้เพื่อเสริมสร้างความเป็นไทยให้โดดเด่นยิ่งขึ้น  ดังนั้นแก่นของเรื่อง คือ การรู้จักอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยอันดีงามและในเวลาเดียวกันก็รู้จักเลือกรับวัฒนธรรมตะวันตกบางประการมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สังคมไทยเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น


บรรณานุกรม
ประวัติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :                http://th.wikipedia.org/wiki/พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.
(วันที่ค้นข้อมูล ๓ ต.ค ๕๖)
ธีรพงษ์.  สรุปเรื่องหัวใจชายหนุ่ม[ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :http://thn21682thai.blogspot.com/p/blog-page.html. (วันที่สืบค้นข้อมูล : ๔ ต.ค. ๔๖)
เกรียงไกร แสงหล่อ. หัวใจชายหนุ่ม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://21622thnheart.blogspot.com/p/blog-page_6804.html. (วันสืบค้นข้อมูล : ๗ ต.ค. ๕๖)

กระทรวงศึกษาธิการ.  หัวใจชายบหนุ่ม.  พิมพ์ครั้งที่8.  กรุงเทพฯ: บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด. (วันสืบค้นข้อมูล : ๗ ต.ค. ๕๖)