ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครอง การต่างประเทศ และโดยเฉพาะด้านทั้งษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภท เช่น บทละคร บทความ นิยาย เรื่องสั้น และทรงใช้พระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีหรือเป็นหนังสือที่แต่งดี อาทิ หัวใจนักรบ เป็นยอดของบทละครร้อยแก้ว มัทนะพาธา เป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์ ทรงได้รับถวายพระราชสมัญญาว่า
“สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” ซึ่งมีความหมายว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ และยังทรงได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้ทรงเป็น ๑ ใน ๕ ของนักปราชญ์ไทย
“สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” ซึ่งมีความหมายว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ และยังทรงได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้ทรงเป็น ๑ ใน ๕ ของนักปราชญ์ไทย
ที่มาของเรื่อง
หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ดุสิตสมิต”
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างตัวละครเอกขึ้นโดยสมมติให้มีตัวตนจริง คือ “ประพันธ์ ประยูรสิริ” เป็นผู้ถ่ายทอดความนึกคิดและสภาพของสังคมไทยผ่านมุมมองของ “ชายหนุ่ม”(นักเรียนนอก)ในรูปแบบของจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนชื่อ “ประเสริฐ สุวัฒน์” เป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นแนวคิดสำคัญในพระราชดำริของพระองค์ในการค่อยๆปรับเปลี่ยนรับเอาอารยธรรมตะวันตกเข้ามา ให้ผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมของไทยโดยทรงสื่อพระราชดำรินั้นผ่านตัวละครในเรื่องได้อย่างแยบยล
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างตัวละครเอกขึ้นโดยสมมติให้มีตัวตนจริง คือ “ประพันธ์ ประยูรสิริ” เป็นผู้ถ่ายทอดความนึกคิดและสภาพของสังคมไทยผ่านมุมมองของ “ชายหนุ่ม”(นักเรียนนอก)ในรูปแบบของจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนชื่อ “ประเสริฐ สุวัฒน์” เป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นแนวคิดสำคัญในพระราชดำริของพระองค์ในการค่อยๆปรับเปลี่ยนรับเอาอารยธรรมตะวันตกเข้ามา ให้ผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมของไทยโดยทรงสื่อพระราชดำรินั้นผ่านตัวละครในเรื่องได้อย่างแยบยล
จุดมุ่งหมาย
๑.เพื่อให้รู้ถึงวิถีชีวิตของชายหนุ่มไทย
๒.แสดงให้เห็นวิธีการเขียนจดหมายที่ถูกต้อง
๓.สื่อถึงพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
๔.เข้าใจในความรักของหนุ่มสาวในอดีต
๕.รับรู้การแต่งบทประพันธ์ที่ถูกต้องตามหลักการ
๖.สื่อถึงการแต่งงานแบบคลุมถุงชนในอดีต
ลักษณะการแต่ง
หัวใจชายหนุ่ม เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมาย โดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมายทั้ง ๑๘ ฉบับในเรื่อง ดังนี้
๑.คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ “ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก” ๒.คำลงท้าย จะใช้คำว่า “จากเพื่อน...” “แต่เพื่อน...” แล้วตามด้วยความรู้สึกของนายประพันธ์ เช่น “แต่เพื่อนผู้ใจคอ ออกจะยุ่งเหยิง” (ฉบับที่๑๐) มีเพียง ๙ ฉบับเท่านั้น ที่ไม่มีคำลงท้าย
๓.การลงชื่อ ตั้งแต่ฉบับที่ ๑๔ เป็นต้นไป ใช้บรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน คือ
“บริบาลบรมศักดิ์” โดยตลอด แต่ฉบับที่ ๑ – ๑๓ ใช้ชื่อ “ประพันธ์”
๓.การลงชื่อ ตั้งแต่ฉบับที่ ๑๔ เป็นต้นไป ใช้บรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน คือ
“บริบาลบรมศักดิ์” โดยตลอด แต่ฉบับที่ ๑ – ๑๓ ใช้ชื่อ “ประพันธ์”
๔.ความสั้นยาวของจดหมาย มีเพียงฉบับที่ ๑๔ เท่านั้นที่มีขนาดสั้นที่สุด เพราะเป็นเพียงจดหมายที่แจ้งไปยังเพื่อนว่าตนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
เรื่องย่อ
นายประพันธ์เป็นนักเรียนนอก เรียนจบจากประเทศอังกฤษ มีความนิยมวัฒนธรรมตะวันตกชื่นชมผู้หญิงสมัยใหม่จนได้แต่งงานกับผู้หญิงทันสมัย ที่ขาดคุณสมบัติของภรรยาที่ดี ชีวิตประสบอุปสรรคแต่ในที่สุดปัญหาต่างๆก็คลี่คลายไป
ข้อคิดที่รับจากเรื่อง “ หัวใจชายหนุ่ม”
๑. อย่าลืมนำความผิดพลาดนั้นมาใช้ในการแก้ไขตนเอง และปรับทัศนคติที่ผิดอยู่ให้ดีขึ้น
๒. อย่าหลงวัฒนธรรมตะวันตกจนลืมจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย ควรเก็บสิ่งที่ดีมาปฏิบัติ
๓. การใช้เสรีภาพในทางที่ผิดโดยปล่อยเนื้อปล่อยตัวจนกระทั่งพลาดพลั้งชิงสุกก่อนห่ามจะต้องประสบชะตากรรมอันเลวร้าย
๔. คนเราควรดำเนินชีวิตในทางยุติธรรม
๕.การใช้ความสามารถของตัวเอง ความพยายามในการก้าวหน้าจะช่วยให้ประสบความสำเร็จในชีวิต
คำศัพท์
คำศัพท์
|
คำแปล
|
ครึ
|
เก่า ล้าสมัย
|
คลุมถุงชน
|
ลักษณะการแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดการให้โดยที่เจ้าตัวไม่รู้จักคุ้นเคยหรือรักกันมาก่อน
|
เทวดาถอดรูป
|
มีรูปร่างหน้าตาดีราวกับเทวดา
|
ไพร่ๆ
|
คนสามัญ ชาวบ้าน
|
สิ้นพูด
|
หมดคำพูดที่กล่าว เพราะพูดไปก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด
|
หมอบราบคาบแก้ว
|
ยอมตามโดยไม่ขัดขืน
|
หัวนอก
|
คนที่นิยมแบบฝรั่ง มีความคิดอ่านแบบฝรั่ง
|
หัวเมือง
|
ต่างจังหวัด
|
ความรู้เพิ่มเติม
๑. การศึกษา เมือก่อนเรียนที่วัด ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นมาเรียนที่โรงเรียน
๒. ความอิสรเสรี คือ ผู้หญิงจะเริม เข้าสังคมมากขึ้น เช่น การไปงานปาร์ตี้กับเพื่อน
๓. การแต่งกาย ผู้ชายใสสูท ผู้หญิง นุ่งผ้าซิ่น เริมนุงกระโปรงแทนการนุ่งจูงกระเบน เริมแต่หน้า สวมเครื่องประดับ
๔.การแต่งงาน จะดูที่ความเหมาะสมทั้งด้านการงาน ฐานะ การศึกษา ความรักเดียวใจเดียว ซึงทั้งหมดนี้เป็นการเปลี่ยนไปของวัฒนะธรรมไทยที่เปลี่ยนไปตามวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามา ซึ่งถือว่าเป็นเรืองใหญ่มาก และเริมจากสังคมชั้นสูง
วิเคราะห์วิจารณ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสนอแนวคิดผ่านตัวละครเอก คือประพันธ์ที่แสดงความรังเกียจ ดูถูกบ้านเกิด แต่กลับไปชื่นชมนิยมวัฒนธรรมตะวันตก พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า คนไทยควรภูมิใจในวัฒนธรรมไทยไม่ควรหลงนิยมวัฒนธรรมตะวันตกจนเกินไป จนละเลยความเป็นไทย ควรรู้จักเลือกสรรสิ่งที่เหมาะสมมาใช้เพื่อเสริมสร้างความเป็นไทยให้โดดเด่นยิ่งขึ้น ดังนั้นแก่นของเรื่อง คือ การรู้จักอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยอันดีงามและในเวลาเดียวกันก็รู้จักเลือกรับวัฒนธรรมตะวันตกบางประการมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สังคมไทยเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
บรรณานุกรม
ประวัติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.
(วันที่ค้นข้อมูล : ๓ ต.ค ๕๖)
ธีรพงษ์. สรุปเรื่องหัวใจชายหนุ่ม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :http://thn21682thai.blogspot.com/p/blog-page.html. (วันที่สืบค้นข้อมูล : ๔ ต.ค. ๔๖)
เกรียงไกร แสงหล่อ. หัวใจชายหนุ่ม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://21622thnheart.blogspot.com/p/blog-page_6804.html. (วันสืบค้นข้อมูล : ๗ ต.ค. ๕๖)
กระทรวงศึกษาธิการ. หัวใจชายบหนุ่ม. พิมพ์ครั้งที่8. กรุงเทพฯ: บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด. (วันสืบค้นข้อมูล : ๗ ต.ค. ๕๖)